วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559

lesson 9


บันทึกอนุทิน


การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Creative Art Experiences Management for Early Childhood)
อาจารย์ผู้สอน  อ.กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
ประจำวันที่  17 มีนาคม 2559
เรียนครั้งที่ 8  เวลา 08:30-13:30 น.
กลุ่ม 102  ห้องเรียน  15-0707







Knowledge ( ความรู้ )



กิจกรรมการปั้นลูกชุบ
     
วัสดุอุปกรณ์ในการทำลูกชุบ

1. ถั่วซีกเลาะเปลือก 1/2 โล
2. นำ้ตาลทราย 1/2 โล
3. ผงวุ้น 1 ห่อ
4. ไม้เสียบลูกชิ้นหรือไม้จิ้มฟัน
5. สีผสมอาหาร สีตามชอบ
6. โฟม แผ่นหนา เอามารองเวลาเสียบลูกชุบ
7. อุปกรณ์ไฟฟ้า หม้อหุงข้าว หรือ หม้อไฟฟ้า หรือกระทะไฟฟ้า อย่างใดอย่างหนึ่งพร้อมปลักสามตา
8. จาน ถ้วยใส่สี

วิธีทำถั่ว
     ให้นำถั่วซีก ครึ่งกิโล ไปแช่น้ำประมาณ 5-10 ชั่วโมง แล้วนำมาต้ม ใส่ถั่วลงไปในหม้อใส่น้ำต้มจนสุกให้ถั่วเละแล้วเทน้ำออกให้แห้งแล้วขยำถั่วให้ละเอียดแล้วใส่น้ำตาลทรายครึ่งกิโลเติมเกลือลงไป1/2 -1 ช้อนชา แล้วกวนบนเตาประมาณครึ่งชั่วโมงตักขึ้นมาดูแล้วลองปั้นถ้าถั่วแห้งปั้นได้ก็พอแต่ถ้ายังเหลวปั้นไม่ได้ให้กวนไปจนกว่าจะปั้นได้ เสร็จแล้วเอาลงมาพักให้เย็น หรือทิ้งให้เย็นแล้วนำมาปั้นได้เลย








ขั้นตอนการทำลูกชุบ
  • เตรียมสีผสมอาหารผสมกับน้ำ
  • ปั้นถั่วเหลืองที่เตรียมไว้เป็นรูปร่างต่างๆตามต้องการแล้วนำไปเสียบไม้
  • ใช้พู่กันจุ่มสีแล้วทาถั่วเหลืองรูปต่างๆที่ปั้นไว้ตั้งน้ำแล้วเทผงวุ้นใส่ คนไปเรื่อยๆจนหมอวุ้น
    เป็นสีใสๆ
  • นำลูกชุบที่ทาสีเรียบร้อยแล้วไปจุ่มวุ้น ลูกละสองครั้ง ห่างประมาณ 3 นาทีค่อยจุ่มครั้งที่ 2
  • รอให้แห้งแกะไม้ออก แล้วนำมาใส่จานรับประทานได้







 




Skill (ทักษะ)

- ทักษะความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะทางด้านศิลปะ
- ทักษะการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม



Application ( การประยุกต์ใช้ )
      
     นำความรู้ไปใช้ในการสอนวิชาศิลปะเกี่ยวกับการให้เด็กฝึกการปั้นลูกชุบ ให้เด็กเกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งการให้เด็กฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กและการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา และเพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนานในการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนอีกด้วย อีกทั้งการปั้นลุกชุบยังสามารถนำไปใช้ในการทำรับประทานเองและเป้นอาชีพเสริมในการหารายได้พิเศษอีกด้วย


      

Technical Education ( เทคนิคการสอน )


- ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง



Evaluation ( การประเมิน)

Self : ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา ร่วมทำกิจกรรมด้วยความตั้งใจ

Friend : ตั้งใจเรียน ช่วยกันทำกิจกรรม


Teacher : อาจารย์สอนได้เข้าใจง่าย มีกิจกรรมที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้ในการสอน และนำกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ อาจารย์ให้ความสนใจในการทำกิจกรรมของนักศึกษา ให้คำปรึกษาตลอดการทำกิจกรรม







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น