วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Lesson 3



บันทึกอนุทิน


การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Creative Art Experiences Management for Early Childhood)
อาจารย์ผู้สอน  อ.กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
ประจำวันที่  28  มกราคม  2559
เรียนครั้งที่ 3  เวลา 08:30-13:30 น.
กลุ่ม 102  ห้องเรียน  15-0707





Knowledge ( ความรู้ที่ได้รับ )








วัสดุที่ใช้ในงานศิลปะ
  • วัสดุ คือ สิ่งที่ใช้แล้วหมดไป เช่น กระดาษ สี กาว ฯลฯ
          วัสดุที่ใช้ในการทำผลงานทางศิลปะอาจเป็นวัสดุที่มีขายทั่วไปหรือเป็นวัสดุจากธรรมชาติ หรือที่มีในท้องถิ่น และเหมาะสมกับวัยและวุฒิภาวะของเด็ก หลีกเลี่ยงวัสดุที่เป็นอันตรายกับเด็ก เช่น วัสดุที่มีปลายแหลม   คม แตกหักง่าย  ภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมี  หรือน้ำยาต่างๆที่ยังอาจติดค้าง  หรือมีกลิ่นระเหยที่เป็นอันตรายต่อเด็ก


วัสดุที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย
  • กระดาษ  เป็นวัสดุที่สามารถนำมาใช้สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะ    ได้อย่างกว้างขวาง เพราะ หาง่าย ราคาไม่แพง เป็นวัสดุที่เด็กคุ้นเคย เช่น กระดาษวาดเขียน  กระดาษปรู๊ฟ กระดาษโปสเตอร์สีต่างๆ กระดาษมันปู กระดาษจากนิตยสารที่ไม่ใช้แล้ว เป็นต้น     
  • การนำกระดาษมาใช้กับเด็กครูควรคำนึงถึงความเหมาะสมในการใช้งานของกิจกรรมนั้นๆ เพื่อจะได้งานที่ดี สวยงามและเหมาะสม  ไม่ควรใช้กระดาษที่มีราคาแพงจนเกินไป
  • กระดาษวาดเขียน  ซึ่งมีความหนาไม่เท่ากัน ที่เรียกเป็นปอนด์ มี 60  80  100 ใช้ได้ดีกับงานวาดรูป ระบายสีทุกชนิดสำหรับเด็ก
  • กระดาษโปสเตอร์  มีทั้งชนิดหน้าเดียว และสองหน้า ทั้งหนาและบาง สีสดใส หลากสี ราคาค่อนข้างแพง ใช้ในงานตัด ประดิษฐ์เป็นงานกระดาษสามมิติเป็นส่วนมาก
  • กระดาษมันปู  เป็นกระดาษผิวเรียบมันด้านหนา ด้านหลังเป็นสีขาว มีสีทุกสี เนื้อบาง เหมาะกับการทำศิลปะประเภทฉีก ตัด พับ ปะกระดาษ
  • กระดาษจากนิตยสาร  เป็นกระดาษที่เหมาะในการนำมาใช้กับเด็กเล็กๆ เพราะไม่ต้องซื้อหา เพียงแต่สะสมไว้ ซึ่งสามารถใช้แทนกระดาษมันปูได้เป็นอย่างดี 
  • กระดาษหนังสือพิมพ์ เป็นกระดาษที่ใช้ได้เช่นเดียวกับกระดาษนิตยสาร แต่จะบางกว่า แต่หมึกอาจเลอะมือเด็กได้มากกว่า แต่ก็มีขนาดใหญ่ใช้ในการรองปูโต๊ะหรือพื้นกันเปื้อน ใช้ในงานที่ต้องการกระดาษชิ้นใหญ่ๆ เช่น การทำหุ่นตัวใหญ่ๆ





สีที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย 
  • สี เป็นวัสดุที่ดึงดูดความสนใจของเด็กเป็นอย่างมาก สีที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย เช่น สีเทียน สีฝุ่น สีโปสเตอร์ สีผสมอาหาร สีจากธรรมชาติต่างๆ สีแต่ละชนิดมีคุณสมบัติและข้อบ่งใช้ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับกิจกรรมแต่ละประเภทที่จัดให้กับเด็ก
  • สีเทียน ( Caryon )  คือสีที่ผสมกับขี้ผึ้ง    แล้วทำเป็นแท่ง มีหลายสีหลายขนาด สีเทียนที่ดีควรมีสีสด ไม่มีไขเทียนมากเกินไป  สีเทียนที่มีราคาถูกมักมีส่วนผสมของขี้ผึ้งมากกว่าเนื้อสี เมื่อนำมาใช้จะได้สีอ่อนๆ ใสๆ ไม่ชัดเจน มีเทียนไขเกาะกระดาษหนา ควรเลือกชนิดที่มีเนื้อสีมากกว่าเนื้อเทียน มีสีสด แท่งโต เพื่อเด็กหยิบจับถนัดมือกว่าแท่งเล็กและไม่หักง่าย หากซื้อเป็นกล่องควรเปิดดูที่มีสีสดๆ สีเข้มๆมากกว่าสีอ่อนๆ  ถ้าไม่มีสีขาวเลยจะดีกว่า เพราะเด็กใช้สีขาวน้อย
  • สีชอล์กเทียน (oil pasteal)  เป็นสีที่มีราคาแพงกว่าสีเทียนธรรมดา โดยทั่วไปคล้ายสีเทียน เป็นสีชอล์กที่ผสมน้ำมันหรือไข สีสดใส เนื้อนุ่ม สีหนา เมื่อระบายด้วยสีชนิดนี้แล้ว สามารถใช้เล็บ นิ้วมือ หรือกระดาษทิชชู ตกแต่ง เกลี่ยสีให้เข้ากันคล้ายรูปที่ระบายด้วยสีน้ำมัน สีชอล์กมักจะทำเป็นแท่งกลมเล็กๆ และมีสีมากเกินไปเหมาะสำหรับเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก



สีที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย 
  • สีเทียนพลาสติก (plastic crayon)  ผลิตขึ้นจากสีและพลาสติกผสม ทำเป็นแท่งเล็กๆ แข็ง มีสีสดหลายสี ใช้ระบายสีง่าย เหลาได้เหมือนดินสอ จึงสามารถระบายในส่วนที่มีรายละเอียดได้และสามารถใช้ยางลบธรรมดาลบบางส่วนที่ไม่ต้องการออกได้ แต่มีราคาแพงมาก




  • สีเมจิก  (Water color)  บรรจุเป็นด้ามคล้ายปากกามี 2 ชนิด คือชนิดปลายแหลมและปลายตัด  เป็นสีที่สว่างสวยงามและสดใส เหมาะสำหรับการขีดเขียนลายเส้น หรือการเขียนตัวหนังสือแต่อาจไม่เหมาะสำหรับเด็กระบายสีเนื้อที่กว้าง แต่เด็กเล็กๆ จะชอบเพราะใช้สะดวก สีสด แห้งเร็ว ถ้าเปื้อนล้างออกง่าย


  • ปากกาปลายสักหลาด(felt pen)     บางทีเรียก ปากกาเคมี เป็นปากกาพลาสติก ปากเป็นสักหลาดแข็ง ภายในบรรจุด้วยหลอดสี เมื่อเขียนหมึกจะไหลซึมผ่านปากสักหลาดมาสู่พื้นกระดาษให้สีสดใสมาก ไม่เหมาะในการระบายพื้นที่กว้าง ถ้าทิ้งไว้นานๆ สีจะซีดเร็ว ควรให้เด็กสวมปลอกปากกาทุกครั้งที่เขียนเสร็จ


  • ดินสอ (pencil)  เด็กๆ ส่วนมากอยากใช้ดินสอในการวาดรูป เหมือนผู้ใหญ่ทำกัน แต่อย่างไรก็ดี ไม่ควรใช้ดินสอเป็นเครื่องมือในการวาดรูปสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี เพราะการเสดงออกตามธรรมชาติของเด็กจะหดหายไป 
  •                





  • ดินสอสี (color pencil)  หรือสีไม้ ดินสอสีก็เช่นเดียวกับดินสอ คือเหมาะสำหรับเด็กโตๆ มากกว่าเด็กเล็กๆ เพราะนอกจากจะหัก ทู่ง่าย ต้องเหลาบ่อยๆ มีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับเทียนหรือสีประเภทผสมน้ำ


สีที่ต้องผสมน้ำหรือเป็นน้ำ

      สีประเภทนี้ ได้แก่ 
  • สีฝุ่น สีน้ำ        
  • สีโปสเตอร์ สีผสมอาหาร          
  • สีพลาสติกผสมน้ำ ฯลฯ            
  • สีแต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะ


  • สีฝุ่น (tempera)  เป็นสีผง ทึบแสง มีหลายสี ใช้ผสมน้ำให้ใสข้นเป็นครีมอาจผสมกาวหรือแป้งเปียกด้วย ขึ้นอยู่กับงานแต่ละชนิด มีราคาถูกกว่าสีประเภทอื่น เก็บไว้ใช้ได้นาน มีขายตามร้านเครื่องเขียนทั่วไป เวลาใช้ต้องผสมกับของเหลวที่เหมาะสม นอกจากน้ำแล้วก็มีน้ำนม น้ำแป้งและน้ำสบู่




  • สีโปสเตอร์ (poster color) ก็คือสีฝุ่นที่ผลิตบรรจุขวดขาย เป็นสีทึบแสง มีหลายสีใช้ผสมน้ำ เป็นสีที่ผสมเสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมใช้เลย ลักษณะคล้ายครีมมีราคาแพงกว่าสีฝุ่น เป็นสีที่เด็กๆ ใช้ง่าย แต่ถ้าต้องการสีอ่อนๆ จะผสมน้ำไม่ได้ จะต้องใช้สีขาวผสมจะได้สีอ่อน ระบายได้เรียบ






  • สีน้ำ (water color) เป็นสีโปร่งแสง ไหล ผสมกลมกลืนง่าย สามารถใช้ในส่วนที่เป็นรายละเอียดได้ มีทั้งที่เป็นหลอดและก้อน ใช่กับพู่กันกลมหรือพู่กันแบนขนนุ่มช่วยระบาย น้ำเป็นตัวละลายให้ได้สีเข้มหรือเจือจางต่างกันออกไป เด็กเล็กๆ มักจะไม่ค่อยชอบใช้สีน้ำ เพราะเด็กช่วงนี้หากใช้สีน้ำในช่วงนี้ เด็กจะต้องคอยใช้พู่กันจามสีอยู่เสมอจึงวาดได้ ทำให้กระดาษเป็นรอยจุดๆ เส้นต่างๆ จะไหลไปถึงกัน ทำให้ภาพไม่ชัดเจน จนในที่สุดก็ดูไม่รู้เรื่อง ทำให้เด็กเบื่อเพราะควบคุมสียาก จึงเหมาะกับเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก


  • สีพลาสติก (plastic or acrylic) มีขายตามร้านวัสดุก่อสร้าง บรรจุในกระป๋องหลายขนาด และแบบในหลอด ราคาสูง มีเนื้อสีข้น ระบายได้เนื้อสีหยาบ มีกลิ่น เหมาะกับงานใหญ่ที่ไม่ต้องใช้รายละเอียดมากนัก สามารถใช้แทนสีฝุ่นหรือสีน้ำได้ ข้อเสียคือ แปรงหรือพู่กันจะต้องจุ่มไว้ในน้ำเสมอ ขณะที่พักการใช้ชั่วคราว และจะต้องล้างอย่างดีหลังจากเลิกใช้แล้ว เนื่องจากสีมีคุณสมบัติแห้งเร็วจะทำให้พู่กันหรือแปรงแข็งใช้ไม่ได้



สีจากธรรมชาติ


  • สีจากธรรมชาติจะเป็นสีที่ได้จาก ผัก ผลไม้ ดอกไม้ ใบไม้ ลำต้น ราก หรือ เปลือกของพืช ดิน ฯลฯ เป็นสีที่ไม่สารเคมีเจือปน จึงไม่เป็นอันตราย แก่เด็ก อย่างไรก็ตาม สีจากธรรมชาติบางชนิดก็อาจเป็นอันตรายที่เกิดจากอาการแพ้ในรูปแบบต่างๆ ได้




วัสดุในการทำศิลปะ
  • กาว  กาวที่เหมาะสมกับเด็กมากที่สุดคือกาวที่กวนเองจากแป้งมันหรือแป้งข้าวเหนียว เรียกว่าแป้งเปียก ราคาถูก ใช้งานได้ง่ายกว่ากาวชนิดอื่นๆ  ไม่เหนียวเหนอะหนะหรือยืดยาวเป็นเส้น ล้างออกง่าย นอกจากนี้ยังมี กาวน้ำ และ กาวลาเท็กซ์ ส่วน กาวถาวร หรือนิยมเรียกกันว่า กาวตราช้าง หรือกาวร้อน มักใช้ติดงานที่ต้องการความติดแน่นคงทน หากติดมือจะล้างออกยากมากต้องแช่และล้างในน้ำอุ่น เหมาะสำหรับผู้ใหญ่
  • ดินเหนียว หรือดินตามธรรมชาติมีมากในต่างจังหวัด ขุดหาได้ทั่วไป มีความนิ่มเหนียว นำมาใช้ปั้น ตากแห้งหรือเผาเป็นเครื่องปั้นดินเผาได้ ระบายสีได้
  • ดินน้ำมัน เป็นดินที่มีส่วนผสมของน้ำมันผสมอยู่ มีกลิ่นแรง เนื้อนิ่มเมื่อโดนความร้อน และแข็งได้เมื่อเจออากาศเย็น เหนียวติดมือไม่เหมาะกับเด็กเล็กๆ
  • ดินวิทยาศาสตร์ มีลักษณะนิ่ม มีหลายสี ไม่เหนียวติดมือเหมือนดินน้ำมัน และมักจะไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายเจือปน จึงเหมาะสำหรับเด็ก






อุปกรณ์ที่ใช้ในงานศิลปะ
  • อุปกรณ์ คือ เครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน เป็นสิ่งที่ไม่หมดเปลืองไป แต่มีอายุในการใช้งานยืนนานตามชนิดหรือคุณภาพของสิ่งนั้นๆ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสี

1.  สีเป็นองค์ประกอบของศิลปะที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกมากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่น 
2.  สีเป็นวัตถุที่ได้จากธรรมชาติหรือจากที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมา
- สีจากธรรมชาติ เช่น สีของดอกไม้ ใบไม้ ผล ราก ลำต้น
- สีจากการสังเคราะห์ขึ้นมา เช่น สีน้ำ สีโปสเตอร์ สีอะคริลิก สีฝุ่น สีน้ำมัน สีทาบ้าน สีพลาสติก ฯลฯ


ทฤษฎีสี (Theory of colors)



สีขั้นที่ 1



สีขั้นที่ 2















อิทธิพลของสีที่ให้ความรู้สึก

  • สีเหลือง  ร้อนและเย็น สว่าง เลื่อมใส น่าศรัทธา สดชื่น
  • สีแดง     ร้อนรุนแรง ตื่นเต้น เร้าใจ
  • สีเขียว    เย็น เจริญงอกงาม สดชื่น
  • สีน้ำเงิน  เย็น สงบเงียบ ความมั่นคง ความอุดมสมบูรณ์
  • สีม่วง    เศร้า ลึกลับ ร้อนและเย็น มีเสน่ห์
  • สีส้ม    ร้อน รุนแรง ตื่นเต้น
  • สีน้ำตาล  ความแห้งแล้ง น่าเบื่อหน่าย 
  • สีดำ เศร้า มืด หนักแน่น น่ากลัว
  • สีเทา สงบ สบายใจ เคร่งขรึม
  • สีขาว สะอาด บริสุทธิ์ เรียบง่าย สว่าง
  • สีฟ้า สว่าง มีชีวิตชีวา
  • สีชมพู ร่าเริง สดใส


เทคนิคการเล่นกับสีน้ำ



การหยดสี






การเทสี





การเป่าสี





การทับสี





การสลัดสี





การขูดสี





การดึงเส้นด้ายชุบสี





การกลิ้งลูกแก้วชุบสี





การละเลงสี





การพิมพ์ภาพ












กิจกรรมที่ทำในวันนี้


กิจกรรมที่ 1 กระดาษว่างต่อจุดเป็นภาพ



กิจกรรมที่ 2 วาดภาพลายที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละช่อง และนำลายดังกล่าวมาวาดในรูปผีเสื้อตามจินตนาการ






Skill (ทักษะ)


- ทักษะความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะทางด้านศิลปะ



Application ( การประยุกต์ใช้ )

      นำเทคนิคการสอนศิลปะไปปรับใช้ในการศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย และเลือกวัสดุที่ใช้ในการทำศิลปะให้เหมาะสมและไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก ฝึกให้เด็กทำศิลปะหลายๆอย่างเพื่อเปิดกว้างโลกแห่งความคิด และเปิดโอกาสให้เด็กได้สร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง เพื่อให้เด็กได้ชื่นชมผลงานของเด็ก ของเพื่อนๆ เเละให้เป็นไปตามพัฒนาการที่สมวัย




Technical Education ( เทคนิคการสอน )

- มีกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน
- ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง



Evaluation ( การประเมิน)

Self : ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา ร่วมทำกิจกรรมด้วยความตั้งใจ

Friend : ตั้งใจเรียน ช่วยกันทำกิจกรรม

Teacher : อาจารย์สอนได้เข้าใจง่าย มีกิจกรรมที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้ในการสอน และนำกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์





วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

lesson 2 
บันทึกอนุทิน


การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Creative Art Experiences Management for Early Childhood)
อาจารย์ผู้สอน  อ.กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
ประจำวันที่  21  มกราคม  2559
เรียนครั้งที่ 2  เวลา 08:30-13:30 น.
กลุ่ม 102  ห้องเรียน  15-0707






Knowledge ( ความรู้ที่ได้รับ)





ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ



ทฤษฎีพัฒนาการ
  • พัฒนาการทางศิลปะของ โลเวนเฟลด์ (Lowenfeld)
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
  • ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด (Guilford)
  • ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ (Torrance)
  • ทฤษฎีความรู้สองลักษณะ (สมอง สองซีก)
  • ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ (Gardner)
  • ทฤษฎีโอตา  (Auta)
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
  • ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด
  • ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์
  • ทฤษฎีความคิดสองลักษณะ
  • ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์
  • ทฤษฎีโอตา



ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด
  • นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน
  • ศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ตัวประกอบของสติปัญญา
            - เน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์
            - ความมีเหตุผล
            - การแก้ปัญหา

ความสามารถของสมอง
       
 กิลฟอร์ด อธิบายความสามารถของสมองออกเป็น 3  มิติคือ
  • มิติที่   1     เนื้อหา
  • มิติที่   2     วิธีการคิด
  • มิติที่   3     ผลของการคิด
มิติที่ 1  เนื้อหา

  • มิติเกี่ยวกับ ข้อมูล หรือ สิ่งเร้าที่เป็นสื่อในการคิด 


  • สมอง รับข้อมูลเข้าไปคิด พิจารณา   4   ลักษณะ
              - ภาพ
              - สัญลักษณ์                                      
              - ภาษา
              - พฤติกรรม

มิติที่ 2  วิธีการคิด
  • มิติที่แสดงลักษณะการทำงานของสมองใน   5  ลักษณะ
         - การรู้จัก การเข้าใจ
          - การจำ
          - การคิดแบบอเนกนัย  (คิดได้หลายรูปแบบ  หลากหลาย)
          - การคิดแบบเอกนัย  (ตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุด)
          - การประเมินค่า

มิติที่ 3  ผลของการคิด
  • มิติที่แสดงถึงผลที่ได้จากการทำงานของสมอง  จากมิติที่ 1 + มิติที่ 2
  • มี  6  ลักษณะ
           -  หน่วย 
           -  จำพวก
           -  ความสัมพันธ์
           -  ระบบ
           -  การแปลงรูป
           -  การประยุกต์


ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด

สรุป.....
            - เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับโครงสร้างทางสติปัญญา
            - ทำให้ทราบความสามารถของสมองที่แตกต่างกันถึง  120    ความสามารถ
ตามแบบจำลองโครงสร้างทางสติปัญญาในลักษณะ 3 มิติ  คือ มีเนื้อหา  4  มิติ    
วิธีการคิด  5  มิติ     และผลทางการคิด  6  มิติ     
...รวมความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ด้วย   คือ วิธีการคิดอเนกนัย  เป็นการคิดหลายทิศทาง  หลายแง่หลายมุม คิดได้กว้างไกล  ซึ่งลักษณะความคิดนี้จะนำไปสู่การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งแปลกใหม่




ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ 
(Torrance)
  • นักจิตวิทยาและนักการศึกษาผู้มีชื่อเสียง  ชาวอเมริกัน
  • เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ว่า ประกอบด้วย 
             - ความคล่องแคล่วในการคิด
             - ความยืดหยุ่นในการคิด
             - ความริเริ่มในการคิด    

แบ่งลำดับขั้นการคิดสร้างสรรค์ เป็น 5 ขั้น
             
             - ขั้นการค้นพบความจริง
             - ขั้นการค้นพบปัญหา
             - ขั้นการตั้งสมมุติฐาน
             - ขั้นการค้นพบคำตอบ
             - ขั้นยอมรับผลจากการค้นพบ

ขั้นที่ 1  การค้นพบความจริง
  • เป็นขั้นเริ่มต้น  ค้นหาสาเหตุ
  • ในการทำงานเริ่มแรก  ต้องมีการคิดค้น หรือหาข้อมูลต่างๆ จะเกิดความรู้สึกกังวล  สับสน วุ่นวาย แล้วค่อยๆปรับตัว พยายามคิดหาสาเหตุ ว่าสิ่งที่ทำให้กังวลใจนั้น คืออะไร
ขั้นที่ 2  การค้นพบปัญหา
  • เป็นขั้นที่สามารถคิดได้ และ
  • เกิดความเข้าใจแล้วว่า ปัญหาคืออะไร
ขั้นที่ 3  การตั้งสมมุติฐาน
  • เมื่อรู้ปัญหาว่าคืออะไรจากขั้นที่ 1 และ ขั้นที่ 2 แล้วก็พยายามคิดแก้ปัญหา 
  • หาทางออกโดยการตั้งสมมุติฐาน
ขั้นที่ 4  การค้นพบคำตอบ
  • เป็นการค้นพบคำตอบจากการตั้งสมมุติฐานด้วยวิธีการต่างๆอย่างหลากหลาย

ขั้นที่ 5  ยอมรับผลการค้นพบ
  • ค้นพบว่าสมมุติฐานที่ทดสอบไปในขั้นที่ 4 นั้นได้ผลเป็นอย่างไร
  • สรุปว่าสมมุติฐานใดคือการแก้ปัญหา หรือทางออกที่ดีที่สุด


ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์

สรุป.....
  • ทอร์แรนซ์ กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหา  หรือสิ่งที่ขาดหายไป   แล้วเกิดความพยายามในการสร้างแนวคิด  ตั้งสมมุติฐาน  ทดสอบสมมุติฐาน   และเผยแพร่ผลที่ได้ให้ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจ  ทำให้เกิดแนวทางในในการค้นคว้าสิ่งแปลกๆใหม่ๆต่อไป 
  • ขั้นความคิดสร้างสรรค์นี้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับขั้นการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์  ทอร์แรนซ์จึงเรียกขั้นการคิดสร้างสรรค์นี้ว่า กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์



ทฤษฎีความคิดสองลักษณะ
  • เป็นทฤษฎีที่กำลังได้รับความสนใจ เพราะเป็นการค้นพบความรู้เกี่ยวกับการทำงานของสมองมนุษย์
  • การทำงานของสมองสองซีก  ทำงานแตกต่างกัน
           - สมองซีกซ้าย       ทำงานส่วนของการคิดที่เป็นเหตุผล        
           - สมองซีกขวา        ทำงานส่วนจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์
  • แพทย์หญิงกมลพรรณ  ชีวพันธุศรี กล่าวว่า  คนเรามีสมอง  2  ซีก 
  • คือ...สมองซีกขวา ซึ่งเป็นส่วนของจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ สามารถพัฒนาได้มากในช่วงวัย 4-7 ปี    
  • ส่วนสมองซีกซ้ายที่เป็นส่วนของการคิดที่เป็นเหตุผล จะพัฒนาในช่วง 9-12 ปี  และสมองจะเจริญเติบโตเต็มที่เมื่อเด็กอายุ  11-13 ปี
  • ปัจจุบัน  คนส่วนใหญ่มักได้รับการพัฒนาเพียงสมองซีกใดซีกหนึ่ง เป็นพิเศษ  ไม่ให้ความสนใจการทำงานของสมองอีกซีกหนึ่งเท่าที่ควร
....ระบบการศึกษาส่วนใหญ่  มุ่งการพัฒนาสมองซีกซ้าย ด้วยการให้เด็กท่องจำ คำนวณ  คิดเลข  สรรหาถ้อยคำ  วิเคราะห์ข้อมูล และอยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ  ขาดการสนับสนุนให้สมองซีกขวาพัฒนาควบคู่กันไป การคิดจินตนาการ  การคิดแปลกใหม่  ความเป็นศิลปิน จึงไม่ค่อยมีโอกาสพัฒนา
  • นักการศึกษาและนักวิทยาศาสตร์ต่างให้ความสำคัญ และสนับสนุนการทำงานของสมอง 2 ซีกอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะ บรรดางานค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ งานสร้างสรรค์ศิลปะ  และความคิดแปลกใหม่ ล้วนเกิดจากการทำงานของสมองซีกขวา
  • แนวคิดเกี่ยวกับการทำงานของสมองสองซีก ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์และพัฒนาการจัดการศึกษา 
            - ผู้เรียนได้เรียนรู้และทำกิจกรรมแบบบูรณาการ
            - มีการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ หรือ 4 MAT
            - มีการทำกิจกรรมที่หลากหลาย



ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์(Gardner)
  • ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยาการศึกษา  ชาวอเมริกัน แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
  • ศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของสติปัญญา
  • ผู้คิดค้นทฤษฎีพหุปัญญา ( ศักยภาพและความสามารถที่หลากหลายของมนุษย์ )
ทฤษฎีพหุปัญญา จำแนกความสามารถหรือสติปัญญาของคนเอาไว้ 9 ด้าน  ได้แก่
    
    - ความสามารถด้านภาษา 
    - ความสามารถด้านตรรกวิทยาและคณิตศาสตร์                    
    - ความสามารถด้านดนตรี
    - ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์                     
    - ความสามารถด้านกีฬาและการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
    - ความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์      
    - ความสามารถด้านธรรมชาติศึกษา
    - ความสามารถในการคิดพลิกแพลงแตกต่างในการแก้ปัญหา
    - ความสามารถด้านจิตวิเคราะห์

 1. ความสามารถด้านภาษา
  • เด็กที่มีความสามารถด้านนี้ .......
       - เรียนรู้และเข้าใจคำพูดต่างๆได้เร็วเกินวัย
       - เลือกใช้คำได้หลากหลาย  มีประสิทธิภาพ ทั้งด้านการพูดจูงใจ การโน้มน้าว  การอธิบาย 
การเล่านิทาน  การโต้เถียง  การใช้เหตุผล  ตลอดจนการเขียนข้อความบรรยาย เขียนสรุปจะทำได้
ดีมาก เด็กจะมีลักษณะนิสัยชอบคิดชอบเขียน ความจำดี

2. ความสามารถด้านตรรกวิทยาและคณิตศาสตร์
  • เด็กที่มีความสามารถด้านนี้ .......
       - มีความถนัดเรื่องคณิตศาสตร์ เข้าใจเรื่องตัวเลขได้เร็ว
       - ใช้เงินเป็นและเร็วกว่าเด็กวัยเดียวกัน 
       - มีความสามารถในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับตัวเลข การคำนวณ การคิดวิเคราะห์  การทดลอง  การสำรวจ การเรียงลำดับเหตุการณ์ การใช้เหตุผล

 3. ความสามารถด้านดนตรี
  • เด็กที่มีความสามารถด้านนี้ .......
       - ถนัดและเก่งดนตรี
       - ชอบฟังเพลง  ร้องเพลง และจำเนื้อเพลงได้เร็ว
       - ตอบสนองกับจังหวะดนตรีได้ดี เต้นตามจังหวะดนตรีได้
       - สนใจและสนุกกับการเล่นเครื่องเล่นดนตรีเป็นพิเศษ 

เด็กจะมีลักษณะนิสัยอารมณ์ดี ชอบร้องชอบเต้น

4. ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์
  • เด็กที่มีความสามารถด้านนี้ .......
       - มีความสามารถในการเห็นภาพรวม
       - สามารถใช้พื้นที่ในการวาดภาพได้ดี ขนาดและสัดส่วนเหมาะสม
       - เข้าใจวิธีการลอกลาย
       - เขียนแผนที่ได้ดี เข้าใจเรื่องทิศทาง  เส้นทาง
       - มองเห็นโลกในมุมที่ถูกต้อง ตามความเป็นจริง

5. ความสามารถด้านกีฬาและการควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกาย
  • เด็กที่มีความสามารถด้านนี้ .......

    - มีพฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง  ชอบการวิ่งเล่น  ออกกำลังกาย เต้นรำ
    - มีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อได้ดี...ทั้งการเดิน ยืน  นั่ง  วิ่ง  กระโดด  มีทักษะการทรงตัวที่ดี 
       เด็กจะมีลักษณะนิสัยชอบแสดงออก มีความสุขกับการได้ใช้กำลังกาย

6. ความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์
  • เด็กที่มีความสามารถด้านนี้ .......
        - ชอบบริการผู้อื่น  ช่างเอาอกเอาใจ
        - ชอบช่วยเหลือเพื่อน 
        - พูดจาไพเราะ  มารยาทอ่อนหวาน น่ารัก
        - ปับตัวเข้ากับทุกคนได้ดี กล้าพูดกล้าแสดงออก  ชอบพบปะผู้คนหลากหลาย  ชอบเข้าสังคม ไม่กลัวคนแปลกหน้า
        - ชอบสังเกต  มองเห็นความแตกต่างระหว่างบุคคล

7. ความสามารถด้านจิตวิเคราะห์
  • เด็กที่มีความสามารถด้านนี้ .......
        - ชอบเรียนรู้ ค้นคว้า วิจัย
        - สามารถเขียนบันทึกประจำวันได้ดี
        - สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง มีความมุ่งมั่นพยายามในการหาคำตอบ
        - เข้าใจความรู้สึกของตนเอง อารมณ์มั่นคง

8. ความสามารถด้านธรรมชาติศึกษา
  • เด็กที่มีความสามารถด้านนี้ .......
       - ชอบเรียนรู้ธรรมชาติ / สิ่งแวดล้อมรอบๆตัว
       - ชอบทัศนศึกษา  ออกสำรวจโลกภายนอก
       - จิตใจดี รักสัตว์  รักต้นไม้ ชอบปลูกผัก  เลี้ยงสัตว์
       - ชอบสังเกตความแตกต่าง เปรียบเทียบสิ่งที่อยู่รอบตัว

9. ความสามารถในด้านการคิดพลิกแพลงแตกต่างในการแก้ปัญหา    
  • เด็กที่มีความสามารถด้านนี้ .......
        -  คิดไว  มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาต่างๆได้ดี
        -  รู้จักเลือก หรือหาวิธีในการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม
        -  เป็นเด็กช่างคิด สามารถคิดค้นประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่อยู่เสมอ
        -  ไม่หยุดนิ่งทางความคิด ชอบเทคโนโลยี

ลักษณะสำคัญของทฤษฎีพหุปัญญา
  • ปัญญา มีลักษณะเฉพาะด้าน
  • ทุกคนมีปัญญาแต่ละด้าน ทั้ง 9 ด้านมากน้อยแตกต่างกัน
  • ทุกคนสามารถพัฒนาปัญญาแต่ละด้านให้สูงขึ้นได้
  • ปัญญาต่างๆสามารถทำงานร่วมกันได้
  • ในปัญญาแต่ละด้าน ก็มีความสามรถหลายอย่าง



ทฤษฎีโอตา (AUTA)

เดวิส (Davis) และซัลลิแวน (Sullivan)
     ความคิดสร้างสรรค์นั้นมีอยู่ในมนุษย์ทุกคนและสามารถพัฒนาให้สูงขึ้นได้ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามรูปแบบโอตา มีลำดับการพัฒนา 4 ขั้นตอน ได้แก่ การตระหนัก ความเข้าใจ เทคนิควิธี และการตระหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ

ขั้นตอนที่ 1 การตระหนัก
  • ต้องตระหนักถึงความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ที่มีต่อตนเอง ทั้งในอดีตและปัจจุบัน เช่น 
       - การพัฒนาปรีชาญาณ
       - การรู้จักและเข้าใจตนเอง
       - การมีสุขภาพจิตที่สมบูรณ์
       - การมีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม

ขั้นตอนที่ 2 ความเข้าใจ
  • มีความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องต่างๆ.......
       - ความรู้และเนื้อหาเรื่องบุคลิกภาพของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์
       - ลักษณะกระบวนการความคิดสร้างสรรค์
       - ทฤษฏีความคิดสร้างสรรค์
       - เทคนิค วิธีการฝึกความคิดสร้างสรรค์

ขั้นตอนที่ 3  เทคนิควิธี
  • การรู้เทคนิควิธีในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทั้งที่เป็นเทคนิคส่วนบุคคลและเทคนิคที่เป็นมาตรฐาน.......
       - เทคนิควิธีการในการฝึกความคิดสร้างสรรค์
       - การระดมสมอง
       - การคิดเชิงเปรียบเทียบ
       - การฝึกจินตนาการ

ขั้นตอนที่ 4  การตระหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ
  • การรู้จักหรือตระหนักในตนเอง พอใจในตนเอง สามารถดึงศักยภาพมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง.......
       - เปิดกว้างรับประสบการณ์ต่างๆ โดยปรับตัวอย่างเหมาะสม
       - มีความคิดริเริ่มและผลิตผลงานด้วยตนเอง
       - สามารถปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงแนวทางในการดำเนินชีวิตที่เหมาะสม



พัฒนาการทางศิลปะ

วงจรของการขีดๆเขียนๆ

       เคลล็อก (Kellogg)  ศึกษางานขีดๆเขียนๆของเด็กปฐมวัย และจำแนกขั้นตอนออกเป็น 4 ขั้นตอน ทำให้เข้าใจถึงความสำคัญของงานขีดๆเขียนๆทางศิลปะที่มีผลเชื่อมโยงกับพัฒนาการของเด็ก 4 ขั้นตอน มีดังนี้  ขั้นขีดเขี่ย  ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง  ขั้นรู้จักออกแบบ และขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ 

ขั้นที่ 1 ขั้นขีดเขี่ย (placement  stage)
  • เด็กวัย 2 ขวบ
  • ขีดๆเขียนๆตามธรรมชาติ
  • ขีดเขี่ยเป็นเส้นตรงบ้าง โค้งบ้าง
  • ขีดโดยปราศจากการควบคุม



ขั้นที่ 2 ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง (shape  stage)
  • เด็กวัย 3 ขวบ
  • การขีดๆเขียนๆเริ่มเป็นรูปร่างขึ้น
  • เขียนวงกลมได้
  • ควบคุมมือกับตาให้สัมพันธ์กันมากขึ้น



ขั้นที่ 3 ขั้นรู้จักออกแบบ (design stage)
  • เด็กวัย 4 ขวบ
  • ขีดๆเขียนๆที่เป็นรูปร่างเข้าด้วยกัน
  • วาดโครงสร้างหรือเค้าโครงได้
  • วาดสี่เหลี่ยมได้ 

   

ขั้นที่ 4 ขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ (pictorial stage)
  • เด็กวัย 5 ขวบขึ้นไป
  • เริ่มแยกแยะวัตถุที่เหมือนกับมาตรฐานของผู้ใหญ่ได้
  • รับรู้ความเป็นจริง เขียนภาพแสดงถึงภาพคน/ สัตว์ได้
  • ควบคุมการขีดเขียนได้ดี
  • วาดสามเหลี่ยมได้





พัฒนาการด้านร่างกาย

      กีเซลล์และคอร์บิน สรุปพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย ตามลักษณะพฤติกรรมทางการใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก ดังนี้
ด้านการตัด
      - อายุ 3-4 ปี  ตัดกระดาษเป็นชิ้นส่วนได้
      - อายุ 4-5 ปี  ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้   
      - อายุ 5-6 ปี  ตัดกระดาษตามเส้นโค้งหรือรูปร่างต่างๆได้

การขีดเขียน
      - อายุ 3-4 ปี  เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
      - อายุ 4-5 ปี  เขียนรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสตามแบบได้   
      - อายุ 5-6 ปี  เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้

การพับ
        - อายุ 3-4 ปี     พับและรีดสันกระดาษสองทบตามแบบได้
        - อายุ 4-5 ปี     พับและรีดสันกระดาษสามทบตามแบบได้   
        - อายุ 5-6 ปี     พับและรีดสันกระดาษได้คล่องแคล่ว หลายแบบ 

การวาด
        - อายุ 3-4 ปี     วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ขา ปาก
        - อายุ 4-5 ปี     วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ปาก จมูก ปาก ลำตัว เท้า
        - อายุ 5-6 ปี     วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ปาก ลำตัว เท้า จมูก แขน  มือ คอ  ผม




     


กิจกรรมสร้างสรรค์ที่ได้ทำในวันนี้

กิจกรรมที่ 1 " มือน้อยสร้างสรรค์ "








กิจกรรมที่ 2 วาดภาพต่อเติมจากเส้นที่กำหนดให้ พร้อมตกแต่งและระบายสีให้สวยงาม






    

Skill (ทักษะ)

- ทักษะความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะทางด้านศิลปะ


Application ( การประยุกต์ใช้ )

       สามารถนำเทคนิควิธีการสอนศิลปะสำรับเด็กปฐมวัยไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมที่สอนเด็กได้ สามารถนำตัวอย่างกิจกรรมศิลปะไปใช้กับเด็กได้ เช่น การวาดภาพต่อเติม เพื่อให้เด็กได้ฝึกความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ พร้อมกับการเลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอีกด้วย


Technical Education ( เทคนิคการสอน )

- มีกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน
- ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง


Evaluation ( การประเมิน)

Self : ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา ร่วมทำกิจกรรมด้วยความตั้งใจ

Friend : ตั้งใจเรียน ช่วยกันทำกิจกรรม

Teacher : อาจารย์สอนได้เข้าใจง่าย มีกิจกรรมที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้ในการสอน และนำกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์